หน้าเว็บ

ศิลปวัฒนธรรมประเทศเวียดนาม


ด้านศิลปวัฒนธรรมของเวียดนาม มีความแตกต่างกับศิลปวัฒนธรรมของไทยอย่างมาก ที่เป็น อย่างนี้เป็นเพราะเวียดนามถูกปกครองโดยประเทศจีนมาหลายครั้งหลายหน จนอาจเรียกได้ว่า อารยธรรม วัฒนธรรม ของเวียดนาม คือ วัฒนธรรมของประเทศจีน นั่นเอง โดยเฉพาะทางด้านศิลป์ของโบราณสถาน ต่าง ๆ อาทิ พระราชวัง วัด สุสาน ฯลฯ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันจนไม่สามารถแยกออกให้เห็นอย่าง เด่นชัด แม้ในช่วงหลังมานี้ เวียดนามอาจได้รับอิทธิพลจากประเทศฝรั่งเศส และญี่ปุ่นอยู่บ้าง แต่ใน ภาพรวมแล้วจะคล้ายคลึงกับประเทศจีน และมีหลักฐานให้เห็นอยู่ทั่วไปบริเวณสองข้างทางที่พวกเราผ่านไป เกือบทุกถนน
การแต่งกาย




อ่าวหญ่าย (Ao dai) 





            เป็นชุดประจำชาติของประเทศเวียดนามที่ประกอบไปด้วยชุดผ้าไหมที่พอดีตัวสวมทับกางเกงขายาวซึ่งเป็นชุดที่มักสวมใส่ในงานแต่งงานและพิธีการสำคัญของประเทศ มีลักษณะคล้ายชุดกี่เพ้าของจีน ในปัจจุบันเป็นชุดที่ได้รับความนิยมจากผู้หญิงเวียดนาม ส่วนผู้ชายเวียดนามจะสวมใส่ชุดอ่าวหญ่ายในพิธีแต่งงาน หรือพิธีศพ



ภาษาเวียดนาม

 ภาษาเวียดนาม เป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์ และเป็นภาษาทางการของประเทศเวียดนาม เป็นภาษาแม่ของประชากรเวียดนามถึง 87% รวมถึงผู้อพยพจากเวียดนามประมาณ 2 ล้านคน และรวมถึงชาวเวียดนาม-อเมริกันเป็นจำนวนพอสมควรด้วย ถึงแม้ว่าจะมีการยืมคำศัพท์จากภาษาจีน และเดิมใช้อักษรจีนเขียน แต่นักภาษาศาสตร์ยังคงจัดภาษาเวียดนามให้เป็น ภาษากลุ่มออสโตรเอเซียติก ซึ่งในกลุ่มนี้ภาษาเวียดนามมีผู้พูดมากที่สุด (10 เท่า ของภาษา ที่มีจำนวนคนพูดเป็นอันดับรองลงมา คือ ภาษาเขมร) ในด้านระบบการเขียนของภาษาเวียดนามนั้น แต่เดิมใช้ตัวเขียนจีน เรียกว่า "จื๋อญอ" ต่อมาชาวเวียดนามได้พัฒนาตัวเขียนจีนเพื่อใช้เขียนภาษาเวียดนาม เรียกว่า "อักษรจื๋อโนม" แต่ในปัจจุบันเวียดนามใช้ตัวอักษรโรมันที่พัฒนาขึ้นโดยมิชชันนารีชาวฝรั่งเศส โดยเครื่องหมายเสริมสัทอักษรใช้เป็นวรรณยุกต์




ประวัติศาสตร์ประเทศเวียดนาม

                                                                                                         
ประวัติศาสตร์ประเทศเวียดนาม
เวียดนามเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ของการต่อสู้อันยาวนาน เริ่มตั้งแต่การก่อตั้งขึ้นเป็นประเทศในนามของอาณาจักรวัน ลาง เมื่อประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล ในบางครั้งมีการแบ่งแยกออกเป็นอาณาจักรเล็กๆ และในบางครั้งกลับมารวมกันได้อีก จนกระทั่งตกอยู่ภายใต้การปกครองของจีน ตั้งแต่ 111 ปีก่อนคริสตกาล จนถึงปี ค.ศ.938 จึงได้รับอิสรภาพจากจีน และมีการตั้งราชวงศ์ต่างๆ ขึ้นมาปกครองประเทศ แต่ก็ยังมีการรบพุ่งกันเองระหว่างตระกูลใหญ่ รบกับจีนเป็นครั้งคราว รวมทั้งพวกจามปาและเขมรด้วยพร้อมกันไป จนกระทั่งเหงียนอั๋นห์สามารถรวบรวมอาณาจักรเป็นหนึ่งเดียวกันได้ และตั้งราชวงศ์เหงียนขึ้นปกครองเวียดนาม ใน ปี ค.ศ.1802 






ปี ค.ศ.1862 ฝรั่งเศสบุกโจมตีไซ่ง่อน จักรพรรดิตือดึ๊ก เซ็นสัญญายอมแพ้และตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส ช่วงปี ค.ศ.1940 – 1954 โฮจิมินห์นำประชาชนต่อสู้กับพวกฝรั่งเศส และพยายามกลับมามีอิทธิพลทำให้เกิดสงครามระหว่างฝรั่งเศสกับเวียดมินห์  ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง กองกำลังเวียดมินห์ได้พามวลชนลุกขึ้นสู้ในทุกหัวเมืองของเวียดนามในเดือนสิงหาคม ค.ศ.1945 เรียกกันว่า การปฏิวัติเดือนสิงหาคมและได้รับชัยชนะและ โฮจิมินห์ได้รับตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรก ได้มีการเลือกตั้งทั่วประเทศ รวมทั้งการร่างรัฐธรรมนูญในปีถัดมา
 

สงครามเวียดนาม



 
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ยุติลง โฮจิมินห์ผู้นำฝ่ายคอมมิวนิสต์เวียดนามประกาศไม่ยอมขึ้นกับฝรั่งเศส และได้นำกำลังเข้าต่อสู้กับฝรั่งเศสเป็นเวลาถึง ๙ ปี โดยไม่มีฝ่ายใดได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด และ ภายหลังจากที่พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามสามารถโจมตีป้อมปราการสำคัญของฝรั่งเศสที่เดียนเบียนฟูแตก ในวันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๗ จึงได้มีการเจรจาระหว่างฝรั่งเศส และคอมมิวนิสต์เวียดนาม  ผลที่สุดได้มีการลงนามใน อนุสัญญาเจนีวา พ.ศ.๒๔๙๗ที่กรุงเจนีวาประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๗ โดยแบ่งแยกประเทศเวียดนามออกเป็น ๒ ส่วน คือ เวียดนามเหนือและเวียดนามใต้โดยยึดเส้นขนานที่ ๑๗ องศาเหนือเป็นเส้นแบ่งเขตเวียดนามเหนือ ซึ่งมีการปกครองระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ภายใต้การนำของโฮจิมินห์พยายามที่จะรวมเวียดนามทั้งสองส่วนเข้าด้วยกัน จึงส่งกำลังกองโจรเวียดกงก่อกวนและแทรกซึมเข้าไปในเวียดนามใต้อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๘ โดยแฝงเข้าไปในลักษณะผู้ลี้ภัยและผู้อพยพ
 

ผลกระทบของสงคราม

 
หญิงรายหนึ่งคร่ำครวญร่างสามีไร้ลมหายใจ ที่ถูกพบเสียชีวิต พร้อมกับร่างอีก 47 ศพ ที่ Hue
 ประเทศเวียดนาม

 
แววตาของชาวบ้านบ่งบอกได้เป็นอย่างดีถึงความทุกข์เศร้า เด็กและผู้หญิงต้องหลบอยู่ในคลองโคลน ระหว่างการต่อสู้กันอย่างรุนแรงกับกองกำลังเวียดกง
เด็กชาวเวียดนามวิ่งหนีตายโดยไม่ใส่เสื้อผ้า


 
 

การศึกษาประเทศเวียดนาม


ลักษณะการจัดการศึกษา มี 5 ระดับ


1. การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา (Pre-School Education) ประกอบด้วยการเลี้ยงดูเด็ก สำหรับเด็กอายุ 6 เดือนถึง 3 ปี และอนุบาลสำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี 


2. การศึกษาสามัญ (5 - 4 – 3)
• ระดับประถมศึกษาเป็นการศึกษาภาคบังคับ 5 ปี ชั้น 1-5
• ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น คือชั้น 6-9
• ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย คือชั้น 10-12



3. การศึกษาด้านเทคนิคและอาชีพ มีเทียบเคียงทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย 



4. การศึกษาระดับอุดมศึกษา แบ่งเป็นระดับอนุปริญญา (
Associate degree) และระดับปริญญา



5. การศึกษาต่อเนื่อง เป็นการศึกษาสำหรับประชาชนที่พลาดโอกาสการศึกษาในระบบสายสามัญและสายอาชีพ

สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

ธงประจำชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

ประเทศเวียดนาม มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีนมีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออกและใต้ หรือในภาษาเวียดนามเรียกเฉพาะทะเลทางทิศตะวันออกว่า ทะเลตะวันออก เวียดนามมีประชากรมากกว่า 89 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 13 ของโลก

ภูมิศาสตร์ประเทศ


มีพื้นที่เป็นแนวยาวคล้ายตัว S มีพื้นที่ประมาณ 331,690 ตารางกิโลเมตร
(คิดเป็น 65% ของพื้นที่ประเทศไทย) ตั้งอยู่ด้านตะวันออกของคาบสมุทรอินโดจีน
   ทิศเหนือ ติดกับประเทศจีน (728 กิโลเมตร)
   ทิศใต้ ติดกับทะเลจีนใต้ และอ่าวไทย
   ทิศตะวันออก ติดกับอ่าวตังเกี๋ยและทะเลจีนใต้
   ทิศตะวันตก ติดกับประเทศกัมพูชา (982 กิโลเมตร) และประเทศลาว (1,555 กิโลเมตร)



การเมือง
   1.การเมืองของเวียดนามมีเสถียรภาพเนื่องจากมีพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม เป็นองค์กรที่มีอำนาจสูงสุดเพียงพรรคการเมืองเดียวผูกขาดการชี้นำภายใต้ระบบผู้นำร่วม (collective leadership) ที่คานอำนาจระหว่างกลุ่มผู้นำ ได้แก่ 
1.) กลุ่มปฏิรูป ที่สนับสนุนการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ นำโดยอดีตนายกรัฐมนตรี ฟาน วัน ขาย
2.) กลุ่มอนุรักษนิยม ซึ่งต่อต้านหรือชะลอการเปิดประเทศ เพราะเกรงภัยของ วิวัฒนาการที่สันติ” peaceful evolution) อันเนื่องมาจากการเปิดประเทศ และ
3.) กลุ่มที่เป็นกลาง ประนีประนอมระหว่างสองกลุ่มแรก นำโดยอดีตประธานาธิบดี เจิ่น ดึ๊ก เลือง ส่งผลให้รัฐบาลเวียดนามต้องปรับแนวทางการบริหารประเทศให้ยืดหยุ่นและเปิดกว้างมากขึ้น แต่ก็ไม่สามารถดำเนินไปได้ในย่างก้าวที่รวดเร็วนัก 
2.เวียดนามได้มีการเลือกตั้งสภาแห่งชาติ สมัยที่ 11 เมื่อ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 มีผู้ได้รับการเลือกตั้งทั้งสิ้น 498 คน เป็นผู้เลือกตั้งอิสระเพียง คน ที่เหลือเป็นผู้สมัครที่ได้รับการคัดเลือกจากพรรคคอมมิวนิสต์ สภาแห่งชาติมีวาระดำรงตำแหน่ง ปี มีหน้าที่ตรากฎหมาย แต่งตั้งหรือถอดถอนประธานาธิบดี ประธานรัฐสภา และ นายกรัฐมนตรี
3.สภาแห่งชาติชุดใหม่ได้เปิดประชุมเมื่อ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 โดยสภาได้มีมติสำคัญๆ คือ
1.) รับรองผลการเลือกตั้งเมื่อ 19 พฤษภาคม
2.) เลือกตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ประจำสภา
3.) การเลือกตั้งให้นายเหวียน วัน อาน ดำรงตำแหน่งประธานสภาต่อไป (เมื่อ 23 กรกฎาคม)
4.) การเลือกตั้งให้นายเจิ่น ดึ๊ก เลือง ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีต่อไป (เมื่อ 24 กรกฎาคม) และ
5.) เลือกตั้งให้นายฟาน วัน ขาย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป (เมื่อ 25 กรกฎาคม) และได้มีการปรับคณะรัฐมนตรีเมื่อ 8สิงหาคม 2545 โดยในคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ 26 คน มีรัฐมนตรีที่ได้รับแต่งตั่งใหม่ 15 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถ หลายคนเคยดำรงรัฐมนตรีช่วยในกระทรวงนั้นๆมาแล้วนอกจากนี้ยังมีการตั้งกระทรวงใหม่ กระทรวงได้แก่
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม,กระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคมและกระทรวงภายในซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงทิศทางการปฏิรูปเศรษฐกิจและการบริหารประเทศมากขึ้นซึ่งเมื่อพิจารณาในประเด็นนี้ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ไทย-เวียดนามที่ดำเนินไปด้วยดีในปัจจุบัน
4.แผนงานการปฏิรูประบบราชการสำหรับปี ค.ศ. 2001-2010 เน้น ประเด็น ได้แก่ การปฏิรูประบบกฎหมาย การปฏิรูปโครงสร้างองค์กร การยกระดับความสามารถของข้าราชการ และการปฏิรูปด้านการคลัง


ผู้นำประเทศคนปัจจุบัน

เจือง เติ๊น ซาง
 เป็นประธานาธิบดีคนปัจจุบันของเวียดนาม เป็นสมาชิกระดับผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม ดำรงตำแหน่ง 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 จนถึงปัจจุบัน