หน้าเว็บ

สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

ธงประจำชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

ประเทศเวียดนาม มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีนมีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออกและใต้ หรือในภาษาเวียดนามเรียกเฉพาะทะเลทางทิศตะวันออกว่า ทะเลตะวันออก เวียดนามมีประชากรมากกว่า 89 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 13 ของโลก

ภูมิศาสตร์ประเทศ


มีพื้นที่เป็นแนวยาวคล้ายตัว S มีพื้นที่ประมาณ 331,690 ตารางกิโลเมตร
(คิดเป็น 65% ของพื้นที่ประเทศไทย) ตั้งอยู่ด้านตะวันออกของคาบสมุทรอินโดจีน
   ทิศเหนือ ติดกับประเทศจีน (728 กิโลเมตร)
   ทิศใต้ ติดกับทะเลจีนใต้ และอ่าวไทย
   ทิศตะวันออก ติดกับอ่าวตังเกี๋ยและทะเลจีนใต้
   ทิศตะวันตก ติดกับประเทศกัมพูชา (982 กิโลเมตร) และประเทศลาว (1,555 กิโลเมตร)



การเมือง
   1.การเมืองของเวียดนามมีเสถียรภาพเนื่องจากมีพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม เป็นองค์กรที่มีอำนาจสูงสุดเพียงพรรคการเมืองเดียวผูกขาดการชี้นำภายใต้ระบบผู้นำร่วม (collective leadership) ที่คานอำนาจระหว่างกลุ่มผู้นำ ได้แก่ 
1.) กลุ่มปฏิรูป ที่สนับสนุนการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ นำโดยอดีตนายกรัฐมนตรี ฟาน วัน ขาย
2.) กลุ่มอนุรักษนิยม ซึ่งต่อต้านหรือชะลอการเปิดประเทศ เพราะเกรงภัยของ วิวัฒนาการที่สันติ” peaceful evolution) อันเนื่องมาจากการเปิดประเทศ และ
3.) กลุ่มที่เป็นกลาง ประนีประนอมระหว่างสองกลุ่มแรก นำโดยอดีตประธานาธิบดี เจิ่น ดึ๊ก เลือง ส่งผลให้รัฐบาลเวียดนามต้องปรับแนวทางการบริหารประเทศให้ยืดหยุ่นและเปิดกว้างมากขึ้น แต่ก็ไม่สามารถดำเนินไปได้ในย่างก้าวที่รวดเร็วนัก 
2.เวียดนามได้มีการเลือกตั้งสภาแห่งชาติ สมัยที่ 11 เมื่อ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 มีผู้ได้รับการเลือกตั้งทั้งสิ้น 498 คน เป็นผู้เลือกตั้งอิสระเพียง คน ที่เหลือเป็นผู้สมัครที่ได้รับการคัดเลือกจากพรรคคอมมิวนิสต์ สภาแห่งชาติมีวาระดำรงตำแหน่ง ปี มีหน้าที่ตรากฎหมาย แต่งตั้งหรือถอดถอนประธานาธิบดี ประธานรัฐสภา และ นายกรัฐมนตรี
3.สภาแห่งชาติชุดใหม่ได้เปิดประชุมเมื่อ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 โดยสภาได้มีมติสำคัญๆ คือ
1.) รับรองผลการเลือกตั้งเมื่อ 19 พฤษภาคม
2.) เลือกตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ประจำสภา
3.) การเลือกตั้งให้นายเหวียน วัน อาน ดำรงตำแหน่งประธานสภาต่อไป (เมื่อ 23 กรกฎาคม)
4.) การเลือกตั้งให้นายเจิ่น ดึ๊ก เลือง ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีต่อไป (เมื่อ 24 กรกฎาคม) และ
5.) เลือกตั้งให้นายฟาน วัน ขาย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป (เมื่อ 25 กรกฎาคม) และได้มีการปรับคณะรัฐมนตรีเมื่อ 8สิงหาคม 2545 โดยในคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ 26 คน มีรัฐมนตรีที่ได้รับแต่งตั่งใหม่ 15 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถ หลายคนเคยดำรงรัฐมนตรีช่วยในกระทรวงนั้นๆมาแล้วนอกจากนี้ยังมีการตั้งกระทรวงใหม่ กระทรวงได้แก่
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม,กระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคมและกระทรวงภายในซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงทิศทางการปฏิรูปเศรษฐกิจและการบริหารประเทศมากขึ้นซึ่งเมื่อพิจารณาในประเด็นนี้ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ไทย-เวียดนามที่ดำเนินไปด้วยดีในปัจจุบัน
4.แผนงานการปฏิรูประบบราชการสำหรับปี ค.ศ. 2001-2010 เน้น ประเด็น ได้แก่ การปฏิรูประบบกฎหมาย การปฏิรูปโครงสร้างองค์กร การยกระดับความสามารถของข้าราชการ และการปฏิรูปด้านการคลัง


ผู้นำประเทศคนปัจจุบัน

เจือง เติ๊น ซาง
 เป็นประธานาธิบดีคนปัจจุบันของเวียดนาม เป็นสมาชิกระดับผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม ดำรงตำแหน่ง 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 จนถึงปัจจุบัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น